Candidladies.com
แหล่งรวมเรื่องราวเสริมความงามและดูแลสุขภาพ
เล็บขบ ความเจ็บปวดที่ต้องรักษา
เล็บขบ คือขอบหรือมุมของเล็บงอกเข้าไปในผิวหนังข้างเล็บ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในนิ้วหัวแม่เท้า ซึ่งคุณสามารถรักษาเล็บคุดได้ที่บ้าน แต่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ ซึ่งความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจะสูงขึ้นหากคุณเป็นโรคเบาหวานหรือภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้การไหลเวียนไม่ดี
เล็บขบเกิดจากอะไร
เล็บขบเกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง และอาจพบได้บ่อยในผู้ที่มีเหงื่อออกมาก เช่น วัยรุ่น ผู้สูงอายุก็อาจมีความเสี่ยงสูงเช่นกันเพราะเล็บเท้าจะหนาขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจทำให้เกิดเล็บขบได้ ดังนี้
- การตัดเล็บเท้าผิดวิธี ควรตดแบบตรง ๆ เนื่องจากการหักมุมด้านข้างของเล็บอาจทำให้เล็บงอกเข้าไปในผิวหนังได้
- เล็บเท้าโค้งผิดปกติ
- รองเท้าคับแน่นมากเกินไป ถุงเท้าและถุงน่องที่คับเกินไป
- อาการบาดเจ็บที่เล็บเท้า เช่น การสะดุดที่นิ้วเท้า ทำของหนักตกที่เท้า หรือการเตะบอลซ้ำ ๆ
- สุขอนามัยเท้าที่ไม่เหมาะสม ไม่รักษาเท้าให้สะอาดหรือแห้ง
- ความบกพร่องทางพันธุกรรม
- การเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่ใช้เท้าบ่อยครั้ง อาจสร้างแรกกดทับที่นิ้วเท้าได้ เช่น บัลเล่ต์ ฟุตบอล คิกบ็อกซิ่ง
อาการเล็บขบ
- ผิวข้างเล็บจะอ่อนนุ่ม บวม หรือแข็ง
- ปวดเมื่อกดทับนิ้วเท้า
- มีหนองก่อตัวขึ้นรอบนิ้วเท้า
- ผิวบวมแดง
- ความเจ็บปวด
- เลือดออก
- ผิวหนังบริเวณนิ้วเท้าโตมากขึ้น
จึงควรรักษาเล็บขบของคุณโดยเร็วที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงอาการแย่ลง และผลข้างเคียงที่อาจตามาอื่น ๆ
การรักษาเล็บขบ
สามารถรักษาเล็บขบได้ที่บ้าน ด้วยวิธีเหล่านี้
- แช่เท้าในน้ำอุ่นประมาณ 15 – 20 นาที 3-4 ครั้งต่อวัน นอกจากนี้ รองเท้าและเท้าของคุณควรแห้งสนิทเพื่อป้องกันการอับชื้น
- ใช้ยา อะเซตามิโนเฟน (Tylenol ) สำหรับแก้อาการปวด
- การใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ เช่น polymyxin และ neomycin หรือครีมสเตียรอยด์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
คุณสามารถใช้การรักษาที่บ้านได้ประมาณ 2-3 วัน หรือ 2 – 3 สัปดาห์ หากอาการปวดแย่ลงหรือรู้สึกว่าเดินหรือทำกิจกรรมอื่นได้ยากเพราะเจ็บเล็บให้ไปพบแพทย์ทันที
การผ่าตัดรักษา
การผ่าตัดรักษาเล็บขบ มีหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือการถอดเล็บที่เจาะเข้าไปในผิวหนัง ซึ่งการถอดเล็บบางส่วนมีประสิทธิภาพถึง 98 เปอร์เซ็นต์ในการป้องกันเล็บขบในอนาคต
ในระหว่างการถอดเล็บบางส่วน ด้านข้างของเล็บจะถูกตัดออกเพื่อให้ขอบข้างเล็บตรง จากนั้นคุณหมอจะวางสำลีไว้ใต้ส่วนที่เหลือของเล็บเพื่อไม่ให้เล็บคุดเกิดขึ้นอีก แพทย์ของคุณอาจรักษานิ้วเท้าของคุณด้วยสารที่เรียกว่า ฟีนอล ซึ่งช่วยให้เล็บไม่งอกกลับมา
การกำจัดเล็บอาจจะใช้ได้ในกรณีที่เล็บขบของคุณเกิดจากความหนา โดยแพทย์ของคุณจะฉีดยาชาเฉพาะที่ จากนั้นจึงถอดเล็บออกทั้งหมดตามขั้นตอนที่เรียกว่าการผ่าตัดเมทริกซ์
ป้องกันเล็บขบ
- ตัดเล็บเท้าให้ตรงและอย่าให้ขอบเล็บโค้งเข้า
- หลีกเลี่ยงการตัดเล็บเท้าให้สั้นเกินไป
- สวมรองเท้า ถุงเท้า และกางเกงรัดรูปที่เหมาะสม
- สวมใส่ รองเท้าหัวเหล็กหากคุณทำงานในสภาพอันตราย
- หากเล็บเท้าของคุณโค้งหรือหนาผิดปกติ อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันเล็บคุด