Candidladies.com
แหล่งรวมเรื่องราวเสริมความงามและดูแลสุขภาพ
หยุดพฤติกรรมบริโภคยาแก้ปวดพร่ำเพรื่อ ถ้าไม่อยากถูกหามส่งโรคพยาบาลโดยไม่จำเป็น
“รู้สึกเหมือนจะไม่สบาย กินยาดักไว้ก่อนดีกว่า” หยุดเลยนะครับพฤติกรรมแบบนี้ รู้หรือไม่ว่ายาแก้ปวด ลดไข้ ที่เราซื้อติดบ้าน พกติดกระเป๋ากันทุกวันนี้แม้จะเป็นยาที่ปลอดภัย ถูกกฎหมาย ซื้อง่าย กินคล่อง แต่ก็ใช่ว่าจะบริโภคพร่ำเพื่อเมื่อไหร่ ตอนไหน เท่าไหร่ก็ได้ เพราะขึ้นชื่อว่ายาหน้าที่ของมันคือการรักษาเมื่อมีอาการเท่านั้น ดีไม่ดีบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จากที่อาการจะทุเลาก็อาจที่จะได้ไปนอนโรงพยาบาลให้คุณหมอดุสักชั่วโมงสองชั่วโมงก็ได้โทษฐานที่ขาดข้อมูลและประมาทในการใช้ยาพื้นฐานง่าย ๆ ทั่วไปจนสุขภาพเสีย
ทำความรู้จักกลุ่มยาแก้ปวดประเภทที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ยาแก้ปวดที่ซื้อได้ทั่วไป ทางเภสัชกรรมจัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด อย่างเช่นการปวดศีรษะ และลดไข้ โดยจะวางขายตามร้านขายยาและห้างร้านต่าง ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนและไม่ได้หวงห้ามในการซื้อขายแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นกระบวนการรักษาอาการเบื้องต้นสำหรับอาการพื้นฐานที่สามารถหายเองได้โดยการบริโภคยาที่ไม่ได้มีฤทธิ์รุนแรงจนต้องอยู่ในขอบเขตของการควบคุมหรือไม่ได้จัดเป็นยาอันตรายนั่นเอง
ยาแก้ปวดที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ยาแก้ปวดพาราเซตามอล แอสไพริน และยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่มีสเตียรอยด์ (Non-Sterodical Anti-Inflammatory Drugs NSAID) ซึ่งเป็นกลุ่มยาชนิดที่ไม่เสพติด(Non-narcotic/opioid analgesics)ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง Prostaglandin ที่ปลายเนื้อเยื้อ ซึ่งส่งผลให้ไม่เกิดอาการอ่อนเพลีย ง่วงซึม หรือกดการหายใจ ทั้งนี้พาราฯ แอสไพริน NSAID จึงนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดต่าง ๆในระดับความรุนแรงของฤทธิ์ยา และความเหมาะสมในการใช้ต่างกัน
ผลเสียต่อสุขภาพเมื่อบริโภคยาแก้ปวดเกินความจำเป็น
ยาแก้ปวดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งยากลุ่มพาราเซตามอล แอสไพริน และชนิดไม่มีสเตียรอยด์พบว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ในระยะยาวและเมื่อใช้ไม่ถูกวิธี โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการนำเสนอข้อมูลเตือนโทษของยาประเภทบรรเทาอาการปวด กลุ่มพาราเซตามอล แอสไพริน และ NSAID กลุ่มยาไม่มีสเตียรอยด์ ว่าหากบริโภคกลุ่มยาบรรเทาอาการปวดติดต่อกันเป็นเวลานานตั้งแต่ 3-7วัน หรือใช้เกินขนาดที่กำหนด สามารถก่อให้เกิดอันตรายกับอวัยวะ ระบบการทำงานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของตับและไต เป็นแผลบริเวณระบบทางเดินอาหารเนื่องจากฤทธิ์ยากัด ความดันโลหิตสูง กร้ามเนื้อหัวใจตาย ร่างกายอ่อนเพลียง่วงซึม เป็นพิษต่อตับและไต สามารถเกิดภาวะตับวาย ไตวาย และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เมื่อใช้ยาเกินขนาดนั่นเอง
ข้อควรปฏิบัติในการบริโภคยาแก้ปวด
1.บริโภคยาแก้ปวดเมื่อมีอาการอยู่ในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากกอาการปวดศีรษะบางชนิดสามารถหายเองตามธรรมชาติได้
2.หยุดพฤติกรรมกินยาดักอาการ เช่น หลังถูกฝนหรืออยู่ท่ามกลางอากาศร้อนจัด
3.อ่านฉลากก่อนใช้ยาเสมอและควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด
4.ในการบริโภคทุกครั้งควรสังเกต วัน / เดือน / ปี ที่หมดอายุเสมอ
- ควรบริโภคทุก ๆ 4-6 ชั่วโมงและไม่ควรบริโภคเกินวันละ 4000 มิลลิกรัม
6.ไม่ควรบริโภคติดต่อกันเกิน 3 – 7วัน
7.ไม่ควรใช้ยาพาราผสมยาอื่นร่วมกับยาพาราชนิดเดี่ยว เพราะอาจได้รับปริมาณยาที่เกินขนาด
8.เก็บยาไว้ในที่พ้นมือเด็กและห่างจากแสงแดด
เห็นแล้วใช่ไหมครับกับโทษของการใช้ยาพร่ำเพรื่อ ยาแก้ปวดแม้จะเป็นยาที่มีฤทธิ์ไม่รุนแรงแต่ขึ้นชื่อว่ายาก็เป็นอันตรายได้เหมือนกันหากใช้อย่างผิดวิธีโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมหรือทำตามคำข้อควนปฏิบัติบนฉลาก หยุดเสียก่อนที่ร่างกายและอวัยวะจะได้รับความเดือดร้อนครับ เพราะจากที่อาการจะทุเลาหายเป็นแกติอาจจะได้ไปเยี่ยมโรงพยาบาลให้คุณหมอดุแทน หรือร้ายแรงกว่านั้นก็อาจจะเป็นอันตรายจนถึงแก้ชีวิตได้เหมือนกันแอดมินว่าอย่าหาทำจะดีกว่าครับ เพราะถ้าผู้อ่านจะไม่เป็นห่วงตัวเอง แต่แอดมินเป็นห่วงมากครับ ครั้งต่อไปแอดมินจะนำเรื่องอะไรมาฝาก รอติดตามกันได้เลย สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
เครดิตภาพ : truckinsurancequotes.com, sanook.com