Candidladies.com
แหล่งรวมเรื่องราวเสริมความงามและดูแลสุขภาพ
ปวดท้อง เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
อาการปวดท้องคือความรู้สึกไม่สบายที่คุณรู้สึกในบริเวณท้อง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดท้องไม่ใช่สาเหตุร้ายแรง แต่อาจมีส่วนน้อยที่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาร้ายแรงได้ ซึ่งวินิจฉัยอาการและการรักษาโรคอาจมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดดรคได้
ประเภทของอาการปวดท้อง
อาการปวดท้องมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดของคุณเริ่มเร็วแค่ไหนและนานแค่ไหน ดังนี้
- อาการปวดเฉียบพลัน จะเริ่มใน 2-3 ชั่วโมงหรือหลายวัน และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย
- อาการปวดเรื้อรัง จะคงอยู่นานหลายวันจนถึงหายสัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือน หรือนานกว่านั้น นอกจากนี้ อาจเป็น ๆ หาย ๆ ได้เช่นกัน
- อาการปวดแบบลุกลาม อาการจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปและมักมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ
สาเหตุของอาการปวดท้อง
อาการปวดท้องอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- อาการลำไส้แปรปรวน
- โรคโครห์นหรืออาการลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผล
- อาหารเป็นพิษ
- แพ้อาหาร
- มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- กล้ามเนื้อหน้าท้องตึง
นอกจากนี้ อาจมีอาการปวดท้องถ้าคุณมีอาการแพ้แลคโตส มีแผลใรกระเพาะ หรือโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ และสาเหตุอื่น ๆ เช่น
- ไส้เลื่อน
- โรคนิ่ว
- นิ่วในไต
- โรคกรดไหลย้อน
- ไส้ติ่งอักเสบ
- หลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง
- ลำไส้อุดตัน
- มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งรังไข่หรือซีสต์ หรือมะเร็งเซลล์ภูมิคุ้มกัน
- ตับอ่อนอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ
- การไหลเวียนของเลือดต่ำ
- การตั้งครรภ์นอกมดลูก
อาการปวดท้องแบบไหนควรพบแพทย์
หากอาการปวดท้องของคุณรุนแรงไม่หายไป หรือกลับมาอีก ให้ปรึกษาแพทย์ทันที ดังนี้
- มีไข้ ปวดเมื่อย
- ร่างกายขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะไม่บ่อย ปัสสาวะสีเข้ม และกระหายน้ำมาก
- ไม่สามารถถ่ายอุจจาระ หรืออาเจียนมากขึ้น
- ปัสสาวะบ่อย
- ท้องนิ่ม
- ปวดท้องนานกว่า 2-3 ชั่วโมง
คุณอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมกับอาการปวดท้อง ที่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาภายในร่างกายที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด ดังนี้
- อาเจียนเป็นเลือด อาเจียนอย่างต่อเนื่อง
- มีปัญหาเรื่องการหายใจ
- มีอาการบวมที่ท้อง
- สังเกตการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือสีดำ
- มีผิวสีเหลือง
- กำลังตั้งครรภ์
- น้ำหนักตัวลดลงโดยหาสาเหตุไม่ได้
การรักษาอาการปวดท้องและการเยียวยาที่บ้าน
การรักษาอาการปวดท้องอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ ซึ่งการรักษาอาจทำได้ดังนี้
- ยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์หรือร้านขายยา เช่น แอสไพรินและไอบูโพรเฟน อาจทำให้ท้องระคายเคืองและทำให้อาการปวดแย่ลง ทั้งนี้ ก่อนรับประทานยาควรอยู่ในการควบคุมของคุณหมอที่วินิจฉัยสาเหตุของอาการปวดท้องและแนะนำให้ใช้
- ยาลดการอักเสบ เพื่อป้องกันกรดไหลย้อน รักษาแผลหรือการติดเชื้อ
- การผ่าตัดรักษาปัญหาอวัยวะ
การเปลี่ยนแปลงอาหารและวิถีชีวิตบางอย่างอาจช่วยให้ปวดท้องที่เกิดจากก๊าซและอาหารไม่ย่อยบรรเทาลงได้ ด้วยวิธีเหล่านี้ :
- กินอาหารมื้อเล็ก ๆ บ่อยขึ้น และกินช้า ๆ
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- นั่งตัวตรงหลังทานอาหารเสร็จ
- ดื่มน้ำเปล่าที่อุณหภูมิห้อง
- จำกัดแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้คุณมีแก๊สหรืออาหารไม่ย่อย
- จัดการความเครียดของคุณ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ และควรเดินเล่นหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ